บทที่ 4

สุขภาพกับคุณภาพชีวิต

สุขภาพ หมายถึง ภาวะการดำรงชีวิตที่สุขสมบูรณ์ทั้งทางร่างกาย จิตใจ และสังคม ซึ่งสุขภาพนั้นสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทด้วยกัน คือ สุขภาพกาย (สภาพของร่างกายที่มีความเจริญเติบโตและพัฒนาการสมกับวัย สะอาด แข็งแรงสมบูรณ์ ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ และทุพพลภาพ พร้อมทั้งมีภูมิคุ้มกันโรคหรือความต้านทานโรคเป็นอย่างดี) และสุขภาพจิต (ความสามารถในการปรับตัวของคนเราให้เข้ากับสถานการณ์ปัจจุบัน รวมทั้งสถานการณ์ในอดีตและในอนาคตด้วย)
การที่คนเราจะมีสุขภาพที่ดีในชีวิตประจำวันได้นั้นเราสามารถปฏิบัติตามสุขบัญญัติแห่งชาติ ซึ่งเป็นบรรทัดฐานสำหรับการสร้างเสริมและปลูกฝังพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้องให้เกิดกับประชาชนตามนโยบายการสุขศึกษาแห่งชาติ เพื่อให้เยาวชนและประชาชนทั่วไปยึดเป็นแนวปฏิบัติขั้นพื้นฐาน เพื่อการมีสุขภาพอนามัยที่ดีในชีวิตประจำวัน
การส่งเสริมสุขภาพ หมายถึง กระบวนการเพิ่มสมรรถนะให้คนเรามีความสามารถเพิ่มขึ้นใน การควบคุมและการส่งเสริมให้สุขภาพของตนดีขึ้นในการที่จะบรรลุสุขภาวะที่สมบูรณ์ทั้งทางร่างกาย จิตใจ และสังคม
การส่งเสริมสุขภาพส่วนบุคคล เป็นการเพิ่มสมรรถนะให้คนเรามีความสามารถเพิ่มขึ้นใน การควบคุมและการส่งเสริมให้สุขภาพของตนดีขึ้นในการที่จะบรรลุสุขภาวะที่สมบูรณ์ทั้งทางร่างกาย จิตใจ และสังคม ส่วนการส่งเสริมสุขภาพชุมชนนั้นต้องเริ่มจากการส่งเสริมสุขภาพส่วนบุคคลและพัฒนาเป็นการส่งเสริมสุขภาพชุมชน
การดูแลสุขภาพของตนเอง และบุคคลในครอบครัวเป็นเรื่องที่สำคัญมากที่สุดถึงกับ 7 องค์การอนามัยโลกได้เขียนคำขวัญไว้ว่า สุขภาพดีเริ่มที่บ้านดังนั้นการที่ทุกคนในครอบครัวช่วยกันดูแลเอาใจใส่สุขภาพซึ่งกันและกันจึงเป็นสิ่งที่ควรกระทำอย่างยิ่ง และควรศึกษาหาความรู้อยู่สม่ำเสมอ โดยการให้ สุขศึกษาแก่บุคคลในครอบครัวอย่างถูกต้อง
สุขภาพกับชีวิตประจำวัน จะประกอบด้วยเนื้อหาเกี่ยวกับสุขภาพกับการศึกษา สุขภาพกับการออกกำลังกาย สุขภาพกับการทำงาน และสุขภาพกับการดำรงชีวิต